วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การวาด กุหลาบด้วยสีน้ำ

                           
            วันนี้….ตัวฟางเองได้เข้าไปเรียนวาดรูปดอกกุหลาบสีเหลือง มาค่ะ
ก็เลยนำมาฝากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เข้ามาชมค่ะ ^^
วาดสีน้ำ
วาดดอกกุหลาบ
เราสามารถวาดดอกด้วยสีน้ำได้ 2 วิธีใหญ่ๆ เช่นเดียวกับใบค่ะ คือลอกภาพที่วาดสมบูรณ์แล้วลงกระดาษเพื่อลงสี หรือวาดด้วยสีไปเลยก็ได้
เราเริ่มต้นกันด้วยการวาดภาพบนกระดาษอื่น ตกแต่งแก้ไขจนเรียบร้อย แล้วค่อยถ่ายแบบวาดลงกระดาษสีน้ำเพื่อลงสีอีกทีนะคะ






                  เราเริ่มงานจากตัวอย่างนี้ก่อนค่ะ มี 4 เหตุผล ที่สนับสนุนให้ชวนคุณเริ่มงานด้วยภาพกุหลาบดอกเดี่ยวภาพนี้ นั่นคือ
1 ความที่เป็นภาพด้านข้างของกุหลาบแย้ม จึงไม่มีกลีบมากนัก เหมาะแก่การฝึกหัด
2 ขอบกลีบเป็นสีเข้ม หากคุณลอกภาพด้วยดินสอหนักเกินไป สีเข้มของขอบกลีบ จะสามารถปิดบังรอยดินสอได้
3 เนื่องจากการวาดภาพในแนวพฤกษศาสตร์ไม่ใคร่นิยมการเพิ่มเงาด้วยสีตรงข้าม (แต่ดิฉันก็ใช้วีนี้ในการทำงานด้วยค่ะ) ซึ่งในตัวอย่าง สีดอกคือสีเหลือง สีตรงข้ามที่เราจะเติมในสีเหลืองเพื่อให้สีเหลืองคล้ำขึ้น คือสีม่วง หากคุณกังวลว่าสีตรงข้ามที่เพิ่มลงไปจะมากเกินจนทำให้สีเหลืองกลายเป็นสีน้ำตาล อาจเลี่ยงไปใช้สีส้มผสมในสีเหลืองแทนได้
4 เนื่องจากเป็นภาพกุหลาบดอกเดียว จึงไม่ใช้เวลาในการทำงานมากนัก  ก็ช่วยลดความทดท้อไปได้เหมือนกันค่ะ
สีที่ใช้ ใช้สีเหลืองมะนาว ส้มอมแดง ม่วงแดง
วิธีทำ วาดภาพกันก่อนค่ะ ใช้เส้นง่ายๆประมาณลักษณะของดอกตามตัวอย่างจนได้ภาพตามต้องการ แล้วลอกภาพวาดลงบนกระดาษ (การวาดภาพดอกเคยบันทึกไว้แล้ว)
หากดอกบานเร็ว เกรงว่าเมื่อวาดเสร็จแล้ว ดอกจะค่อยๆบานจนรูปร่างเปลี่ยนแปลง แสงเงาอาจเปลี่ยนไป จนไม่ทราบว่าจะลงสีอย่างไร ก็ใช้ดินสอลงแสงเงาคร่าวๆ ไว้ก่อนก็ได้ค่ะ (ไม่ต้องกังวลว่าจะแรเงาไม่สวย เราทำงานคนเดียว ทำแบบที่ว่ารู้คนเดียวก็ได้) การแรเงา นอกจากจะเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ยังช่วยฝึกการสังเกตุตำแหน่งของแสงเงาอีกด้วย



 

การลงสี สีที่ใช้มีสีเหลืองมะนาว  สีม่วงแดง  สีส้มอมแดง
ให้สีเหลืองมะนาวที่ผสมให้สีอ่อนลงเป็นสีที่ 1, ผสมสีม่วงแดงในสีมะนาวเล็กน้อย(ไม่เกิน 5 %) จนเป็นสีเหลืองที่คล้ำขึ้น ให้เป็นสีที่ 2, ส่วน สีส้มอมแดง เป็นสีที่ 3
 
   
             สี 1                               สี 2                              สี 3
การวาดภาพพฤกษศาสตร์จริงๆ เนื่องจากแทบจะเป็นการ ถ่ายภาพพืชพรรณตามธรรมชาติด้วยสี จึง ไม่นิยมเว้นพื้นที่ให้เห็นเป็นสีขาวของกระดาษค่ะ เพราะในธรรมชาติเราคงหาลักษณะอย่างนั้นในพืชแทบไม่ได้ แต่ถ้าเราไม่เคร่งครัด ว่าเราไม่ใช่ Botanical Artist ที่กำลังวาดภาพวาดพฤกษศาสตร์ ภาพที่วาดไม่จำเป็นต้องเหมือนธรรมชาติเสียทีเดียว ถ้าจะเว้นให้เห็นสีขาวของกระดาษบ้าง ก็แล้วแต่ความชอบใจค่ะ
เวลาทำงาน ดิฉันมักใช้พู่กัน 2 อัน ในขณะเดียวกัน  อันหนึ่งสำหรับแต้มสีลงในพื้นที่ทำงาน อีกอัน เป็นพู่กันชื้น ไว้ใช้สำหรับเกลี่ยสีให้กลมกลืนไปกับพื้นเดิม
เราจะ ลงสีไปทีเดียวทั้งภาพ แล้วค่อยๆแต่งเป็นส่วนๆค่ะ  โดย ผสมสีเหลืองกับน้ำจนเป็นสีที่ค่อนข้างจาง นำมา ทาให้เต็มดอก ทิ้งให้แห้ง (1)
 



แล้วจึงเริ่มแต่งเงาทีละกลีบ โดยทาน้ำลงในเฉพาะกลีบที่จะทำงาน ใช้พู่กันอันหนึ่งแตะสี 2  ลงในตำแหน่งเงา ใช้พู่กันชื้นอีกอัน เกลี่ยเงาให้กลมกลืน ทำจนเต็มดอก (2)
 

จากนั้นจึงแต่งสีของขอบกลีบดอก โดยขอบกลีบที่พับงอ ทาน้ำให้ในบริเวณที่จะทำงานให้เต็ม แล้วแต้มสี 3 ลงไป ปล่อยให้สีกระจายไปตามน้ำ (3)

 
สำหรับขอบกลีบปกติ ทาน้ำให้มีพื้นที่มากกว่าพื้นที่ที่จะลงสี แต้มสี 3 ตามปลายกลีบ เนื่องจากเราตั้งกระดาษให้เอียงเล็กน้อยอยู่แล้ว สีจะค่อยๆซึมลงไปสู่ภายในตัวกลีบดอกเอง แต่อาจใช้ปลายพู่กันเกลี่ยช่วยบ้างก็ได้ เมื่อเติมสีขอบกลีบจนเต็มดอกแล้ว (4)


จึงเติมเงาดอกเพิ่มเพื่อให้ดอกดูมีมิติขึ้นด้วยสี 2  โดยใช้พู่กันอันหนึ่งแต้มสีลงไปในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วใช้พู่กันชื้นอีกอันรีบเกลี่ยให้สีกลมกลืนไปกับพื้นเดิม โดยจะทาน้ำก่อนหรือไม่ก็ได้ (5)
 



 เมื่อลงสีดอกเสร็จ ลงสีใบด้วยวิธีใดก็ได้ ตามแบบใช้วิธีที่ 1ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกเรียนวาดสีน้ำ 

 




  
              สำหรับวันนี้ตัวฟางเองก็มีเรื่องที่จะมาฝากแค่นี้นะค่ะ……เจอกัน Blog หน้านะค่ะ
รอดูว่าฟางจะนำเรื่องอะไรมาฝาก ขอขอบคุณและขอบใจ ทุกคนที่เข้ามาดู Blog ฟางนะค่ะ
                                      ………. ปริยดา  ศรีหะมงคล …….....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น